Loading...

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 4 (นครสวรรค์)

Environment and Pollution Control Office 4

ขนาดอักษร
เปลี่ยนการแสดงผล C C C
TH EN

ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝนกลางแจ้ง

ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝนกลางแจ้ง

ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝนกลางหาว จากรายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝนกลางแจ้ง ณ สถานที่เก็บตัวอย่างสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 4 ตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2563  เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานน้ำบริโภคขององค์การอนามัยโลก (WHO) พ.ศ.2550 พบว่า คุณภาพน้ำฝนกลางหาว พารามิเตอร์ส่วนใหญ่มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำบริโภคขององค์การอนามัยโลก (WHO) พ.ศ.2550  ยกเว้นปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (TCB) และฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (FCB) โดยเกณฑ์มาตรฐาน กำหนดไว้ว่า ตรวจไม่พบ ซึ่งตัวอย่างน้ำฝนตรวจพบปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (FCB)  เท่ากับ 1,600 และ 240 เอ็มพีเอ็น/100มล. ตามลำดับ

   ดังนั้น คุณภาพน้ำฝนกลางหาว จุดดังกล่าว ยังพบการปนเปื้อนแบคทีเรียอยู่ ถึงแม้จะในปริมาณน้อยก็ตาม เพราะในเกณฑ์มาตรฐานระบุว่าต้องไม่พบเลย  ซึ่งโดยปกติในอากาศโดยทั่วไป มีแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่แล้ว จึงสามารถตรวจพบค่าแบคทีเรียในน้ำฝนได้  ทั้งนี้ประชาชนควรปรับปรุงคุณภาพน้ำให้มีความสะอาดปลอดภัยก่อนนำไปใช้อุปโภคบริโภค  อาทิเช่น การต้ม เป็นวิธีปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ง่ายที่สุด โดยต้มที่อุณหภูมิ 90 - 100 องศาเซลเซียสประมาณ 15 - 30 นาที หรือ เติมคลอรีนก่อน หรืออาจใช้วิธีการกรอง โดยใช้วัสดุตัวกรอง ทำหน้าที่กั้นสิ่งสกปรกที่ติดมากับน้ำให้ติดอยู่บนผิวหน้าของตัวกรอง  โดยอาจจะซื้อเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องกรองสำเร็จรูป หรือจัดทำเครื่องกรองแบบง่ายๆใช้เอง

แกลเลอรี่